สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับบริษัท HS Brands Global กันนะคะ ว่าบริษัทเราทำงานเกี่ยวกับอะไร ทำงานอะไรกันบ้าง แล้วมีธุรกิจใดที่เราสามารถให้บริการได้ ไปดูกันเลยค่ะ HS Brands Global เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านการวิจัยทางการตลาดในรูปแบบของ Mystery Shopping หรือก็คือ การวิจัยโดยการสำรวจเก็บข้อมูลจากการเข้าไปใช้บริการร้านค้าจริง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ประมวลผล และสรุปผลการวิจัยนั่นเองค่ะ ซึ่งบริษัทของเรามีออฟฟิศตั้งอยู่ใน 9 ประเทศ ให้บริการบริษัทต่าง ๆ มากกว่า 100 บริษัททั่วโลก และในปัจจุบันได้ทำการตั้งออฟฟิศเพิ่มอยู่ที่ประเทศไทยด้วย โดยมีพนักงานเป็นคนไทยทุกคน จึงทำให้เรามีความเข้าใจในวัฒนธรรมของคนไทยเป็นอย่างดี เพื่อให้บริการกับลูกค้าในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น บริษัทที่เราให้บริการอยู่นั้น เป็นบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น ธุรกิจยานยนต์ ธนาคาร โรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ร้านขายเครื่องสำอาง ร้านหนังสือ ปั๊มน้ำมัน ธุรกิจบ้านและเฟอร์นิเจอร์ ห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ศูนย์ฟิตเนส ธุรกิจแฟรนไชส์ และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าทั้งหมดค่ะ หนึ่งสิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันคุณภาพการบริการของเราก็คือ บริษัท HS Brands Global เป็นหนึ่งในสมาชิกของ Mystery Shopping Providers Association หรือ MSPA ซึ่งเป็นสมาคมในอุตสาหกรรม Mystery Shopping ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีหน้าที่เพื่อบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพงานบริการลูกค้าด้วยวิธีการสำรวจเก็บข้อมูลอย่างเป็นความลับ ภายในสมาคมมีสมาชิกที่เป็นบริษัทด้านการทำ Mystery Shopping อยู่มากมายทั่วโลก HS Brands Global ยึดมั่นตามหลักความเป็นมืออาชีพที่สร้างขึ้นโดย MSPA จึงรับประกันได้ว่า เราจะให้บริการลูกค้าของเราด้วยความซื่อสัตย์ ความเป็นมืออาชีพ ความโปร่งใส และการรักษาความลับอย่างดีที่สุด และนี่ก็คือข้อมูลโดยรวมของบริษัท HS Brands Global นั่นเองค่ะ นอกเหนือจากการทำ Mystery Shopping แล้ว ทางเรายังมีบริการ Compliance Audit ที่ผู้ตรวจสอบจะรายงานตัวกับผู้จัดการร้านเพื่อทำการตรวจสอบ และ Field Form หรือเอกสารตรวจสอบที่สามารถกรอก บันทึก และรายงานผลข้อมูลที่ทำการตรวจสอบได้ทันทีอีกด้วย บริการทั้งหมดนี้เรามีขึ้นเพื่อรองรับความต้องการในการตรวจสอบคุณภาพการให้บริการลูกค้าที่มีความหลากหลายในแต่ละบริษัทได้นั่นเองค่ะ
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ บริษัท เอชเอส แบรนด์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด https://www.hsbrandsth.com/ E-mail : [email protected] Tel. : 02-107-4143 ในปัจจุบัน การวิจัยการตลาด Mystery Shopping นั้น ครอบคลุมธุรกิจในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องให้บริการกับลูกค้าแล้ว ซึ่งต้องขอบคุณการพัฒนาอย่างต่อเนื่องที่เริ่มมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1940 โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1. กลุ่มบริการ (Services) เป็นกลุ่มหลัก ๆ ที่จะได้ใช้บริการ Mystery Shopping อยู่เสมอ เพราะเป็นธุรกิจที่ต้องใกล้ชิดกับลูกค้าหรือผู้บริโภคตลอดเวลา โดยกลุ่มนี้จะทำธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก โรงพยาบาล สถานเสริมความงาม ศูนย์สุขภาพ โรงภาพยนตร์ สำนักพิมพ์ โรงเรียนสอนพิเศษ โรงแรมหรือรีสอร์ท บริษัทนำเที่ยว บริษัทขนส่ง เป็นต้น ยกเว้นบริการทางการเงินและบริการด้านข้อมูลสารสนเทศหรือเทคโนโลยี หรือบริการที่ถูกจัดไว้ในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นแล้ว 2. กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (Agro & Food Industry) จะทำธุรกิจเกี่ยวกับการเพาะปลูก ทำปศุสัตว์ แปรรูปผลิตผลทางการเกษตร ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เช่น ร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ฟาร์มปศุสัตว์ สวนหรือไร่ผักผลไม้ เป็นต้น 3. กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Products) จะเกี่ยวกับธุรกิจที่ทำการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคต่าง ๆ เช่น ร้านเสื้อผ้าแฟชั่น ร้านเครื่องสำอางค์ ร้านเครื่องประดับอัญมณี แบรนด์สินค้า Luxury ร้านเครื่องเขียน ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า ร้านขายของเล่นของสะสม ร้านขายเครื่องเรือนและของใช้ภายในบ้าน ร้านขายยา เป็นต้น 4. กลุ่มธุรกิจการเงิน (Financials) จะเกี่ยวกับธุรกิจผู้ให้บริการทางการเงินประเภทต่าง ๆ เช่น ธนาคาร บริษัทประกันชีวิต บริษัทที่ให้บริการด้านธุรกิจหลักทรัพย์อื่น ๆ เป็นต้น 5. กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (Industrials) จะเกี่ยวกับธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายวัตถุดิบที่สามารถนำไปใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม เครื่องมือและเครื่องจักรต่าง ๆ ที่นำไปใช้ต่อในอุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ เช่น บริษัทจำหน่ายยานยนต์ บริษัทให้บริการซ่อมบำรุงยานยนต์ บริษัทจำหน่ายเครื่องจักรหรืออะไหล่ โรงพิมพ์หนังสือ บริษัทจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น 6. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (Property & Construction) จะเกี่ยวกับธุรกิจผู้ผลิตวัสดุก่อสร้าง ผู้พัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงบริการก่อสร้างและงานวิศวกรรม เช่น บริษัทพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ บริษัทรับเหมาก่อสร้าง กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น 7. กลุ่มทรัพยากร (Resources) จะเกี่ยวกับธุรกิจการแสวงหาหรือจัดการทรัพยากรต่าง ๆ เช่น ปั๊มน้ำมัน บริษัทที่ให้บริการด้านสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า, ประปา, แก๊ส) เป็นต้น 8. กลุ่มเทคโนโลยี (Technology) จะทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยี รวมถึงผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ บริษัทจำหน่ายโทรศัพท์ บริษัทจำหน่ายฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของคอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกธุรกิจที่จะทำวิจัยการตลาดรูปแบบนี้ บางธุรกิจอาจติดปัญหาเรื่องเงินทุนทำการวิจัย ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการบริการลูกค้ามากนัก หรือยังไม่เชื่อว่าการทำวิจัยนี้จะมีประโยชน์กับธุรกิจของพวกเขาอย่างแท้จริง แต่หากธุรกิจของคุณให้ความสำคัญกับการบริการลูกค้า การทำ Mystery Shopping ถือเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้คุณได้เปรียบคู่แข่งทางการค้าของคุณที่ไม่ได้ทำการวิจัยอย่างชัดเจน และยังได้รับผลตอบแทนที่ชัดเจนอีกด้วย หากสนใจใช้บริการของเรา ติดต่อได้ที่
บริษัท เอชเอส แบรนด์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด https://www.hsbrandsth.com/ E-mail : [email protected] Tel. : 02-107-4143 บางคนเมื่อได้ทำความรู้จักกับคำว่า Mystery Shopper หรือ ลูกค้านิรนามแล้ว อาจจะเกิดคำถามขึ้นว่า คนที่เป็นช้อปเปอร์ต้องทำงานอย่างไร มีทักษะอะไรบ้าง แล้วเรามีความสามารถพอที่จะเป็นช้อปเปอร์ได้รึเปล่า จะยากเกินไปไหม วันนี้ทางผู้เขียนจะมาให้คำตอบค่ะ ที่จริงแล้ว Mystery Shopper นั้น ขอเพียงแค่คุณเคยมีประสบการณ์ซื้อสินค้าหรือบริการร้านใดร้านหนึ่งมาก่อนก็เพียงพอต่อการเป็นช้อปเปอร์แล้วค่ะ เพราะการตรวจสอบบริการนั้น ต้องใช้ผู้ที่เคยเป็นลูกค้าหรือเคยใช้บริการมาก่อนในการทำงาน ซึ่งในปัจจุบันคงไม่มีใครไม่เคยซื้อสินค้าหรือใช้บริการมาก่อนอยู่แล้ว นั่นเท่ากับว่า ไม่ว่าใครก็สามารถเป็น Mystery Shopper ได้นั่นเองค่ะ ในแง่ของทักษะการทำงานโดยทั่วไปของ Mystery Shopper ก็ไม่ได้ต้องการทักษะอะไรพิเศษมากกว่าตอนเป็นลูกค้าปกตินักค่ะ แค่ประสบการณ์ที่เคยซื้อสินค้าหรือบริการในร้านก็มากเพียงพอแล้ว แต่ถ้าอยากทำงานช้อปเปอร์ให้ได้อย่างมืออาชีพล่ะก็ ทักษะที่ควรจะมีก็คือ ความช่างสังเกตค่ะ เนื่องจากช้อปเปอร์ต้องสังเกตสิ่งต่าง ๆ ภายในร้านอย่างละเอียดตามที่ได้รับคำสั่งมา อาจมีบางจุดที่ต้องสังเกตเพิ่มนอกเหนือจากที่เคยมองตอนเป็นลูกค้าปกติค่ะ และในบางงานตรวจที่พิเศษหน่อย อาจจำเป็นต้องใช้ทักษะการสวมบทบาทหรือการแสดงด้วย เพื่อความแนบเนียนและตรงตามวัตถุประสงค์ในการเข้าตรวจงานนั้น ๆ และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือความซื่อตรงค่ะ เพราะการทำ Mystery Shopping นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเก็บข้อมูลตามความเป็นจริงและเก็บข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับค่ะ เช่น ข้อมูลที่กรอกในแบบสอบถามจะต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริง ไม่นำข้อมูลที่ได้ไปเผยแพร่ให้คนอื่นหรือบริษัทคู่แข่ง ต้องไม่เปิดเผยตัวเองว่าเป็นผู้ตรวจสอบหรือช้อปเปอร์เด็ดขาด เป็นต้น ถ้าหากเราทำได้ตามนี้ทั้งหมดจะทำให้เราดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นค่ะ ซึ่งส่งผลให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โอกาสได้รับงานตรวจมากขึ้น และค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นด้วยนั่นเองค่ะ
ทั้งหมดนี้คือความสามารถคร่าว ๆ ที่ผู้ที่เป็น Mystery Shopper ควรจะมีค่ะ จะเห็นว่า แค่เราซื้อของใช้บริการร้านค้าต่างเราก็มีทักษะเกินกว่าครึ่งแล้ว งานช้อปเปอร์นี้จึงไม่ใช่งานยากเกินกำลังอย่างที่คิดค่ะ หากสนใจใช้บริการของเรา ติดต่อได้ที่ บริษัท เอชเอส แบรนด์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด https://www.hsbrandsth.com/ E-mail : [email protected] Tel. : 02-107-4143 Mystery Shopping นั้นเป็นวิธีตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานที่เริ่มต้นใช้ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1940 เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบมีตั้งแต่การตอบแบบสอบถาม ไปจนถึงการบันทึกภาพและเสียง ในช่วงแรกนั้นจะนิยมใช้กับธนาคาร และร้านค้าปลีกเป็นหลัก เพื่อตรวจความถูกต้องของกระบวนการการแลกเปลี่ยนเงินของพนักงาน
Mystery Shopping ได้รับการพัฒนาและเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะบริษัทในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่างเริ่มตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญในการตรวจสอบและพัฒนาบริการของตน รวมถึงความสามารถในการวัดความพึงพอใจของลูกค้าได้หลากหลายอุตสาหกรรม ต่อมาในช่วงทศวรรษที่ 1980-1990 Mystery Shopping ได้แพร่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการกำเนิดของอินเตอร์เน็ต ซึ่งอินเตอร์เน็ตนี้เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเป็นอย่างมาก จนในปัจจุบัน Mystery Shopping ได้กลายเป็นหนึ่งในมาตรฐานสำคัญที่สามารถนำมาใช้ตรวจสอบงานบริการได้ทุกอุตสาหกรรม เช่น ร้านค้าปลีก โรงแรม โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ธนาคาร ปั๊มน้ำมัน โชว์รูมรถยนต์ คอนโดหรืออพาร์ทเมนท์ ศูนย์ฟิตเนส โรงพยาบาล เป็นต้น และนี่คือประวัติคร่าว ๆ ของ Mystery Shopping นั่นเองค่ะ จะเห็นได้ว่า การวิจัยทางการตลาดรูปแบบนี้ได้ถูกนำมาใช้งานและพัฒนามาเป็นระยะเวลานาน แม้ในปัจจุบันเองก็ยังคงมีการพัฒนาอยู่ จนกลายเป็นสิ่งที่ขาดไปไม่ได้สำหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมไหน ๆ เลยค่ะ หากสนใจใช้บริการของเรา ติดต่อได้ที่ บริษัท เอชเอส แบรนด์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด https://www.hsbrandsth.com/ E-mail : [email protected] Tel. : 02-107-4143 ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับชื่อเรียกของ Shopper ต่าง ๆ กันค่ะ มาดูกันว่าจะมีชื่อเรียกอะไรกันบ้าง ไม่แน่ว่าคุณอาจจะเคยเห็นผ่านตามาก่อนก็ได้ เนื่องจากการทำ Mystery Shopping นั้นมีต้นกำเนิดมาจากต่างประเทศ ดังนั้นชื่อที่ใช้เรียกชื่อนักช้อปที่ทำหน้าที่สำรวจเก็บข้อมูลร้านค้าต่าง ๆ จะเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งมีชื่อว่า Mystery Shopper ค่ะ หรืออาจจะเรียกด้วยชื่อใกล้เคียง เช่น Secret Shopper, Mystery Customer แต่ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอะไร ความหมายของทุกคำที่กล่าวมาก็เหมือนกันค่ะ ซึ่งถ้าเราแปลคำเหล่านี้เป็นภาษาไทย คำที่จะได้ก็เช่น นักช้อปนิรนาม นักช้อปปริศนา ลูกค้านิรนาม ลูกค้าลึกลับ ลูกค้าสายลับ ฯลฯ แต่เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษ คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายเหมือนกันค่ะ สำหรับผู้เขียนเอง จะเลือกใช้คำว่า Mystery Shopper หรือเรียกย่อ ๆ ว่า Shopper (ช้อปเปอร์) กับ ลูกค้านิรนามในการเรียกเป็นหลักค่ะ เพราะดูจะเป็นคำที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากกว่าคำอื่น ๆ ส่วนใครจะเลือกใช้คำอื่นใดก็เลือกใช้กันได้ตามสะดวกเลยค่ะ ขอแค่เข้าใจความหมายตรงกันก็พอค่ะ
สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี่
หากสนใจใช้บริการของเรา ติดต่อได้ที่ บริษัท เอชเอส แบรนด์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด https://www.hsbrandsth.com/ E-mail : [email protected] Tel. : 02-107-4143 |
AuthorHS Brands Global (Thailand) Team Categories
All
Archives
January 2025
|