แม้ว่าสถานการณ์โควิดจะทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวยังไม่ฟื้น แต่เราขอนำเสนอโมเดลให้บริการสำหรับคนทำงานโรงแรม เพื่อเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าสำหรับการรับมือกับคำตำหนิและร้องเรียนของลูกค้าค่ะ สำหรับคนทำงานโรงแรม โมเดล L E A R N จาก Marriott ถือเป็นโมเดลที่โด่งดังและเป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดสำหรับการรับมือและจัดการกับข้อร้องเรียนของลูกค้า คนที่อยู่ในแวดวงโรงแรมย่อมพยายามอย่างมากในการแก้ปัญหาให้ลูกค้า แต่บางครั้งก็เกิดปัญหาขึ้นได้ โรงแรมที่แก้ปัญหาได้เก่งกว่าย่อมก้าวนำคู่แข่งอยู่เสมอ โมเดลนี้ถูกใช้ที่ Marriott, Hilton และ Starwood เพราะคนส่วนใหญ่มักไม่รู้วิธีรับมือจัดการกับข้อตำหนิที่ลูกค้ามี ถ้าไม่ได้สอนทักษะนี้ก็มักจะมีปัญหาที่แก้ไม่จบตามมา L - Listen
E - Empathize
A - Apologize
R-React
N - Now!
โมเดล L.E.A.R.N. นี้ ควรถูกฝึกอบรมในองค์กรอยู่สม่ำเสมอ เพราะเรื่องร้องเรียนหรือข้อตำหนิเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ หากไม่รู้วิธีรับมือ และไม่มีวิธีคิดและทักษะที่ดีพอ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น นอกจากจะสร้างความไม่พอใจแก่ลูกค้า สร้างความเสียหายแก่โรงแรมแล้ว อาจสร้างประสบการณ์ที่เป็นตราบาปในใจสำหรับผู้ให้บริการเอง ถ้าใครเคยทำงานบริการก็จะเห็นว่า การได้รับข้อตำหนิหรือข้อร้องเรียนจากลูกค้านั้นเกิดขึ้นอยู่เสมอ สำหรับร้านหรือแบรนด์ที่ไม่เคยเทรนพนักงานให้ตอบสนองกับข้อตำหนิหรือร้องเรียนของลูกค้าเลย ก็อาจทำให้เกิดเรื่องราวปัญหาใหญ่โตตามมา
มีหลายองค์กรที่บัญญัติวิธีการรับมือกับข้อตำหนิและร้องเรียนของลูกค้าไว้ให้พนักงานสามารถจดจำและทำตามได้โดยง่าย วันนี้เราขอยกตัวอย่างจากดิสนีย์มาให้เห็นว่า ที่ดิสนีย์นั้นดูแลข้อตำหนิและร้องเรียนของลูกค้าอย่างไร การรับข้อตำหนิและร้องเรียนด้วยสูตร H.E.A.R.D. ที่เน้นหนักที่การฟังและแก้ปัญหาด้วยหัวใจ 1. Hear พนักงานต้องรับฟังปัญหาที่ลูกค้าแจ้งเข้ามาอย่างตั้งใจเพื่อทำความเข้าใจปัญหานั้น โดยไม่ขัดหรือรบกวนตอนที่ลูกค้ากำลังพูดอยู่ หยุดตัวเองให้ทัน ห้ามอธิบาย พนักงานส่วนใหญ่อยากจะอธิบายให้ลูกค้าฟัง จำไว้ให้ดีว่า ลูกค้าต้องการใครสักคนที่ฟังเขา ไม่ใช่ใครสักคนที่จะบอกเขาว่าทำไมร้านถึงทำแบบนั้นกับเขา 2. Empathize แสดงความเข้าอกเข้าใจและความปรารถนาดีให้ลูกค้าได้เห็น เพื่อให้ลูกค้ารู้ว่าพนักงานยืนอยู่เคียงข้างลูกค้า และเข้าใจปัญหาของลูกค้าจริง ๆ อย่าแอคติ้งหรือประชดประชัน คุณต้องสวมหัวใจของคุณไปที่ลูกค้าให้ได้ ความเข้าอกเข้าใจนี้เองต้องส่งผ่านสีหน้า ท่าทาง แววตา และคำพูดออกมาให้ได้ ควรสบตาลูกค้าและกล่าวถ้อยคำที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุณอยู่ฝั่งเดียวกับเขา 3. Apologize กล่าวคำขอโทษอย่างจริงใจ ไม่ใช้คำขอโทษแบบขอไปที แม้ว่าปัญหานั้นไม่ได้เกิดจากตัวคุณเองโดยตรง บางคนไม่สามารถกล่าวขอโทษได้เพราะคิดว่า "ฉันไม่ผิด ลูกค้าต่างหากที่ผิด" "ฉันไม่ได้ทำ พนักงานคนอื่นต่างหากที่เป็นคนทำ" ซึ่งถ้าคุณคิดเช่นนั้น ลองคิดในมุมที่ว่า หน้าที่ของคุณคือช่วยเหลือให้ลูกค้าสะดวกสบาย หรือได้รับสินค้าอย่างที่คาดหวัง ดังนั้นหากลูกค้าไม่ได้ในสิ่งที่เขาควรได้รับ คุณเองก็สามารถขอโทษเขาได้" 4. Resolve จุดที่พิเศษอย่างหนึ่งของดิสนีย์คือ พนักงานที่รับเรื่องปัญหานั้นสามารถจัดการแก้ปัญหาได้เองเลยทันที โดยไม่ต้องรออนุมัติจากหัวหน้างานก่อน และสามารถถามลูกค้าว่าต้องการให้ชดเชยอะไรบ้าง สิ่งที่คุณควรทำคือ แก้ปัญหาโดยสื่อสารกับลูกค้าว่ามีอะไรที่จะได้รับการแก้ไขหรือชดเชยบ้าง 5. Diagnose เพื่อแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ต้องกลับมาพิจารณาว่า ปัญหาที่ลูกค้าแจ้งนั้นสาเหตุเกิดจากอะไร และต้องทำอย่างไรถึงจะไม่ให้เกิดปัญหานั้นซ้ำอีก ขั้นตอนการแก้ปัญหานี้ เราสามารถนำไปอ้างอิงปรับใช้กับองค์กรของเราได้ เพื่อพัฒนาการรับมือคอมเพลนของลูกค้าให้ดีขึ้นและสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้บริการให้แก่ลูกค้า มีเรื่องมาเล่าสู่กันฟัง เรื่องนี้เริ่มจากความเข้าใจผิดที่ควรไกล่เกลี่ยกันได้ แต่ดันลุกลามไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โซเชียลมีเดียที่เกาหลีใต้เดือด เพราะคลิปภริยาของเอกอัครราชทูตเบลเยี่ยมประจำเกาหลีใต้ตบพนักงานและเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าในกรุงโซลเมื่อวันที่ 9 เมษายนที่ผ่านมา โดยเจ้าของร้านได้ปล่อยคลิปเหตุการณ์ออกมาเพราะไม่อยากให้ใครต้องเจอเหตุการณ์แบบเธออีก เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อภริยาทูตไปลองชุดที่ร้านเสื้อแห่งหนึ่ง เธอลองเสื้อผ้าหลายชุดแล้วเดินออกจากร้านไป พนักงานเลยเข้าใจผิดคิดว่าลูกค้าขโมยเสื้อผ้าของร้าน เพราะเสื้อคลุมของลูกค้าคล้ายกับสินค้าในร้าน พนักงานจึงออกไปตาม เมื่อพบว่าเข้าใจผิด พนักงานก็ขอโทษ แต่ภริยาทูตกลับเข้ามาในร้านและก่อเหตุรุนแรงขึ้น ภาพในคลิปจะเห็น นาง Xiang Xueqiu วัน 63 ปี ภริยาทูตเบลเยี่ยมประจำเกาหลีใต้ ใช้กำลังกับพนักงานของร้านวัย 33 ปี โดยตบหัวของเธอ เจ้าของร้านได้เข้ามาแยกทั้งคู่และพยายามทำให้ทั้งสองอารมณ์เย็นลง ตอนนั้นเองนาง Xiang ก็ตบหน้าเจ้าของร้านไปฉาดใหญ่ ชาวเน็ตแสดงความไม่พอใจอย่างกว้างขวาง และขณะนี้ตำรวจกำลังสืบสวนเรื่องนี้อยู่ ขณะที่สถานทูตเบลเยี่ยมยังรักษาท่าทีและไม่ให้ข้อมูลใด ๆ
หนังสือพิมพ์ South China Morning Post รายงานว่า พนักงานของร้านให้การต่อตำรวจว่า นาง Xiang บอกว่า ยังไงตัวเธอก็ไม่ถูกลงโทษเนื่องจากการคุ้มกันทางการทูต ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น เว้นแต่ประเทศต้นสังกัดของทูตแจ้งยกเลิกความคุ้มครองทางการทูตเพื่อให้เกิดการไต่สวนได้ ชาวเน็ตเกาหลีใต้ต่างโกรธเคืองต่อเรื่องนี้ เพราะเห็นว่าภริยาทูตทำไม่สมควร อีกทั้งภริยาทูตมีเชื้อสายจีนซึ่งมีความตึงเครียดทางการเมืองกับเกาหลีใต้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้เห็นคอมเมนต์มหาศาลในทุกที่ที่เกี่ยวกับท่านทูตเบลเยี่ยมคนนี้ ม้กระทั่งเฟสบุ้คของสถานทูตเบลเยี่ยมเองก็มีการเรียกร้องให้ภริยาทูตได้รับบทลงโทษและส่งกลับประเทศไป เรื่องบาดหมางที่ไม่ควรเกิดขึ้นกลับขยายใหญ่โตเพียงเพราะต้องการรักษาอีโก้ของคนและการไม่ให้เกียรติผู้อื่น ที่มา: https://www.scmp.com/week-asia/people/article/3130331/footage-belgian-ambassadors-wife-slapping-shopkeeper-outrages https://www.youtube.com/watch?v=AUFMZSykgzg https://www.reddit.com/r/korea/comments/mre6la/wife_of_belgium_ambassador_accused_of_assaulting/ |
AuthorHS Brands Global (Thailand) Team Categories
All
Archives
January 2024
|