สำหรับคนที่เพิ่งรู้จัก Mystery Shopping เป็นครั้งแรกย่อมมีคำถามเกิดขึ้นว่า “จ่ายเงินให้เราไปช้อปปิ้ง มีด้วยเหรอ?” “ของจริงแน่หรือ? หลอกลวงรึเปล่า?” “ถ้าบริษัทเขาจ่ายเงินให้คนไปช้อปปิ้ง แล้วเขาจะได้อะไรกลับมาล่ะ?” ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะสงสัยแบบนั้น ดังนั้นเราจะมาหาคำตอบกันว่า Mystery Shopping คือของจริงหรือไม่
ก่อนอื่นต้องตอบก่อนเลยว่า “Mystery Shopping คือของจริง!” เพราะแบรนด์หรือร้านค้าต้องการข้อมูลการให้บริการของตัวเองจากมุมมองของลูกค้าจริง เพื่อนำข้อมูลประเมินประสิทธิภาพการให้บริการโดยรวม แล้วนำไปปรับปรุงพัฒนางานบริการของตนเองต่อไป ซึ่งในปัจจุบัน ประสบการณ์การใช้บริการของลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญของลูกค้าในการเลือกหรือเลิกใช้บริการ หากเกิดความไม่พอใจอาจทำให้แบรนด์สูญเสียลูกค้าไปได้ แบรนด์ต่าง ๆ จึงต้องว่าจ้างบริษัทด้าน Mystery Shopping ให้ช่วยเก็บข้อมูลนี้ เพื่อสร้างความได้เปรียบและคงอยู่ในการแข่งขันทางธุรกิจได้อย่างมั่นคง เพราะ Mystery Shopping เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการเก็บข้อมูลจากลูกค้าโดยตรง ในส่วนของการจ่ายเงินให้ไปใช้บริการนั้นก็เป็นเรื่องจริงเช่นกัน เพราะบริษัทที่ทำ Mystery Shopping จะส่ง Mystery Shopper หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ช้อปเปอร์ ไปตรวจสอบบริการร้านค้าที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งช้อปเปอร์นั้นไม่ใช่พนักงานประจำของบริษัท แต่เป็นคนทั่วไปที่สมัครมาเพื่อรับงานตรวจบริการกับทางบริษัท เมื่อช้อปเปอร์เข้าตรวจเสร็จแล้ว บริษัทจะจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นค่าแรง ค่าเดินทาง รวมถึงค่าซื้อสินค้าหรือบริการด้วย โดยจำนวนค่าตอบแทนจะแตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไข ความยากง่ายและสถานที่ ๆ ต้องไปตรวจ ตอนนี้เราก็ได้ทราบกันไปแล้วว่า การจ่ายเงินให้ไปช้อปปิ้งนั้นเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่เรื่องโกหกหลอกลวงแต่อย่างใด เพียงแต่การจ่ายเงินนั้นไม่ใช่การจ่ายให้ไปช้อปปิ้งโดยเปล่า แต่เป็นการจ่ายเพื่อให้ไปตรวจสอบการให้บริการ ทดลองใช้หรือซื้อสินค้า แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการเข้าตรวจส่งให้กับบริษัท Mystery Shopping จากนั้นจึงจะได้รับเงินค่าตอบแทนค่ะ หากสนใจใช้บริการของเรา ติดต่อได้ที่ บริษัท เอชเอส แบรนด์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด https://www.hsbrandsth.com/ E-mail : connect@hsbrandsth.com Tel. : 02-107-4143 ในยุคที่ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ร้านค้าบริการต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย การบริการลูกค้าจึงถือเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของการทำธุรกิจ เพราะจะสะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของธุรกิจนั้น ๆ ว่ามีมาตรฐานการบริการและความเอาใจใส่ลูกค้ามากน้อยเพียงใด นอกจากผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการพัฒนาปรับปรุงเพื่อดึงดูดลูกค้าเข้าร้านแล้ว ยังมีอาชีพหนึ่งได้รับความนิยมและเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นตามไปด้วย อาชีพนั้นก็คือ Mystery Shopper หรือ นักช้อปปริศนา วันนี้ผู้เขียนจะมาเล่าประสบการณ์ที่ได้รับจากการเป็น Mystery Shopper ให้ทราบกันค่ะ Mystery Shopper หรือที่เรียกว่า ลูกค้านิรนาม คือ คนที่แฝงตัวเข้าไปใช้บริการหรือซื้อสินค้าในร้านนั้น ๆ เพื่อสำรวจการให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น พนักงาน สินค้า ความสะอาดร้านค้า ฯลฯ โดยไม่ให้พนักงานทราบ จุดประสงค์ในการสำรวจคือ เพื่อให้ทราบถึงมาตรฐานการบริการที่แท้จริงของพนักงาน โดยเป็นงานแบบ Part-time ที่ Mystery Shopper สามารถเลือกงาน วัน เวลา และสถานที่เข้าตรวจได้อย่างอิสระ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เคยทำงาน Mystery shopping มาแล้วหลายงาน นอกจากจะสร้างประโยชน์ให้แก่ธุรกิจนั้น ๆ แล้ว สิ่งที่ได้รับ คือ 1. ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต จดจำสิ่งต่าง ๆ เมื่อทำงาน Mystery Shopping ทักษะหลักๆ คือ การใส่ใจรายละเอียด เมื่อคุณเรียนรู้เกี่ยวกับภารกิจที่ต้องทำ อย่างน้อยก็ต้องเข้าใจ requirement ของงานว่าต้องไปที่ไหน ทำอะไร เมื่อไร และเมื่อเข้าไปใช้บริการที่ร้านก็ต้องจดจำรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องนำมากรอกแบบสอบถามได้ 2. ได้ค่าตอบแทนที่เป็นเงิน โดยค่าตอบแทนจะขึ้นอยู่กับการสำรวจแต่ละครั้งที่กำหนดมา เพราะแต่ละงานจะได้รับค่าตอบแทนไม่เท่ากัน ![]() เมื่อทำงานเสร็จลุล่วง คุณก็ย่อมได้ค่าตอบแทนเป็นเงินตามที่ตกลง รายได้สำหรับการไปตรวจงานแต่ละครั้งจะอยู่ระหว่าง 400-2000 บาท ขึ้นกับความยากง่ายของงานที่ทำ 3. ได้ค่าตอบแทนที่นอกเหนือจากเงิน เช่น อาหาร สินค้า ฯลฯ เพราะบางงาน เราอาจจะได้รับบทบาทสมมติให้ไปสำรวจร้านอาหาร หรือ ซื้อสินค้าในร้าน ซึ่งเราอาจจะได้รับสินค้ามาเลย หรือไม่ก็ได้สินค้าในราคาที่พิเศษ นอกจากเงินแล้ว บางครั้งคุณอาจได้สินค้าจากทางแบรนด์ หรือหากภารกิจที่คุณได้รับมอบหมายนั้นคือการไปตรวจโรงแรม สิ่งที่คุณได้รับคือ การเข้าพัก รับประทานอาหาร และใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับ Mystery Shopper และ Auditor สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในการสร้างบริการที่ดีเยี่ยมในประเทศนี้ เพราะความเห็นของช้อปเปอร์และออดิเตอร์นี้จะถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงคุณภาพการบริการของแบรนด์ 4. ได้ประสบการณ์ที่ท้าทายและแปลกใหม่ การเป็น Shopper ต้องสวมบทบาทสมมติที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป เช่น การสำรวจโรงแรม ธนาคาร ร้านอาหาร ร้านเครื่องสำอางหรือฟิตเนส ฯลฯ เมื่อคุณต้องทำตัวเหมือนนักสืบ การเข้าไปใช้บริการในร้านครั้งนั้นๆ ของคุณย่อมแตกต่างจากธรรมดา ความตื่นเต้นและท้าทายย่อมเกิดขึ้น บางครั้งคุณอาจจะได้รับมอบหมายงานให้ไปตรวจสอบแบรนด์ที่คุณไม่เคยใช้มาก่อน เช่น คุณเองเป็นลูกค้าแบรนด์เครื่องสำอางค์หรูแบรนด์หนึ่งเป็นประจำอยู่แล้ว เราอาจมอบหมายงานให้คุณไปตรวจสอบแบรนด์หรูหราแบรนด์อื่น หรือหากมีสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว (Tourist Attraction) เปิดใหม่ คุณก็อาจได้รับมอบหมายให้เป็นคนแรกๆ ที่เข้าใช้บริการ สำหรับตัวผู้เขียนที่ชื่นชอบการทานอาหารและการช้อปปิ้งเป็นชีวิตจิตใจ หากเลือกงานที่สะดวกตามวัน เวลา และสถานที่ที่เหมาะสมกับตัวเรา นอกจากจะได้ทานอาหารฟรี ช้อปปิ้งฟรี หรือบริการด้านอื่น ๆ ฟรีแล้ว ก็ยังก็ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ ซึ่งแน่นอนว่าค่าตอบแทนอาจจะไม่มากนัก แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าและได้เปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ และสนุกกับการทำงานอีกด้วย ดังนั้น Mystery Shopper ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับและพัฒนาธุรกิจด้านการบริการของไทยให้ดียิ่งขึ้นไปด้วยค่ะ
หากอ่านจบแล้วแล้วสนใจที่จะเป็นช้อปเปอร์บ้าง สามารถสมัครได้ที่นี่เลยค่ะ หรือถ้าอยากเตรียมความพร้อมก่อนเป็นช้อปเปอร์ก็สามารถศึกษาทักษะที่ควรมีของช้อปเปอร์ได้ค่ะ หากสนใจใช้บริการของเรา ติดต่อได้ที่ บริษัท เอชเอส แบรนด์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด https://www.hsbrandsth.com/ E-mail : connect@hsbrandsth.com Tel. : 02-107-4143 หลังจากที่ช้อปเปอร์เข้าสู่ระบบแล้ว จะพบกับหน้าต่างดังภาพ โดยจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้ หมายเลข 1 : บันทึกร้าน – คือปุ่มเพื่อเข้าสู่หน้าหลักในการใช้งานระบบช้อปเปอร์ หรือก็คือปุ่ม Home นั่นเอง หมายเลข 2 : โปรไฟล์ของฉัน - คือหน้าสำหรับกรอกข้อมูลส่วนตัวของ Shopper เช่น ชื่อ ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์ (ควร Update เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนอีเมลใช้งาน เป็นต้น) หมายเลข 3 : แอปของฉัน –รายละเอียดของร้านค้าที่คุณเลือกและสนใจไปทำทั้งหมด ณ ปัจจุบัน (แต่ยังไม่ได้รับการจ่ายงานหรือมอบหมายงาน) หมายเลข 4 : ตารางงาน (Job Board) – คือหน้าค้นหางานที่มีทั้งหมดที่คุณเลือกทำได้ สามารถค้นหาร้านได้ตามที่อยู่อาศัยหรือตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบัน กำหนดระยะทางในการค้นหางาน หากมีงานที่ยังว่างอยู่จะปรากฏเป็นหมุดอยู่บนแผนที่ และมีรายละเอียดของงานนั้น ๆ บอกด้วย หมายเลข 5 : ขอความช่วยเหลือ – ไม่ต้องใช้งาน ในส่วนต่อไป หากไม่ปรากฏข้อมูลดังภาพตัวอย่างแรก ให้กดที่แถบหัวข้อสีเทาที่ต้องการเพื่อเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมของแถบหัวข้อนั้น ๆ เช่น คลิกลูกศรที่แถบประกาศเพื่อดูประกาศต่าง ๆ ที่มี เป็นต้น หมายเลข 6 : ประกาศ – ข้อความแจ้งถึงช้อปเปอร์ทุกคน หมายเลข 7 : รหัสนักสำรวจ – ในส่วนนี้มีรายละเอียดย่อยลงมา คือ 1) รหัสนักสำรวจ – หมายเลขรหัสของ Shopper ของคุณ 2) จำนวนร้าน # ทั้งหมด – จำนวนแบบสอบถามที่ Shopper เคยกรอกแบบสอบถาม 3) สถานะบัญชี –บอกว่าบัญชีของคุณยังสามารถใช้งานได้หรือไม่ สามารถคลิกไปที่ช่องเพื่อแสดงปุ่ม “เปลี่ยน” แล้วเข้าไปเปลี่ยนสถานะปัจจุบันของบัญชีคุณ โดยมี 3 สถานะที่สามารถเลือกได้ ดังนี้ 3.1) ใช้งาน - เลือกเพื่อใช้งานบัญชีตามปกติ 3.2) เลิกใช้บริการ – เลือกเพื่อเลิกใช้บริการ เมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถรับงานตรวจได้ แต่สามารถกลับมาเปิดใช้บริการบัญชีใหม่ได้ในภายหลัง 3.3) ไม่ต้องการรับอีเมล์เสนองาน - สามารถเลือกเพื่อปฏิเสธการรับข่าวสารงานตรวจร้านค้าใหม่ ๆ ได้ (ไม่แนะนำให้เลือกตัวเลือกนี้ หากยังต้องการรับงานตรวจร้านค้าอยู่) 4) Extended Shopper Profile – เป็นหน้ากรอกข้อมูลเพิ่มเติมของช้อปเปอร์ เช่น อาชีพ การศึกษา พาหนะที่ใช้เดินทาง รวมถึงเลขที่บัญชีในการรับเงินค่าตรวจร้าน ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่คุณกรอกในหน้านี้จะส่งผลกับงานที่คุณจะได้รับ คุณควรอ่านรายละเอียดในแต่ละข้อให้ละเอียดถี่ถ้วน ตอบตรงตามความเป็นจริงและถูกต้องครบถ้วน เพื่อผลประโยชน์ของตัวท่านเอง สามารถกดไปที่ช่องเพื่อเรียกปุ่ม “ปรับปรุง” และเข้าไปกรอกข้อมูลได้ หน้าตาของ Extended Shopper Profile เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว หากขึ้นสถานะ “ปรับปรุงข้อมูลเป็นสิ่งที่ต้องการ ก่อนที่ท่านจะสามารถสมัครงาน” แสดงว่ายังกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน แต่ถ้าขึ้นสถานะ “ปัจจุบัน” แสดงว่ากรอกข้อมูลครบหมดแล้ว ตัวอย่างการแสดงสถานะในหน้าหลักของ Extended Shopper Profile 5) GeoVerifications – เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับช้อปเปอร์ในต่างประเทศ ไม่ต้องใช้งาน 6) MSPA Shopper Certifications – เป็นระบบรับรองการเป็น Shopper ในอเมริกา ไม่ต้องใช้งาน 7) การทดสอบและคุณสมบัติของผู้สมัคร - หากคุณสมบัติของคุณตรงตามคุณสมบัติที่โปรเจคงานของเราต้องการ จะมีแบบทดสอบวัดความเข้าใจให้คุณเข้าไปทำได้ในส่วนนี้ หากคุณทำแบบทดสอบผ่าน จะได้รับการติดต่อจากผู้ประสานงาน เพื่อคุยรายละเอียดเกี่ยวกับโปรเจคดังกล่าว (การได้รับมอบหมายงาน ต้องได้รับการ Confirm จากผู้ประสานงานเท่านั้น หากคุณไปตรวจสอบเอง ทางเราจะไม่รับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายดังกล่าว) 8) ข้อมูลอ้างถึงของนักสำรวจ – ไม่ต้องใช้งาน หมายเลข 8 : ร้านค้าของฉัน – ส่วนนี้จะรวบรวมรายการงานเข้าตรวจที่คุณได้รับมอบหมายให้เข้าตรวจ เมื่อคุณเข้าตรวจเสร็จแล้วจะต้องมาที่ส่วนนี้เพื่อกรอกแบบสอบถาม คุณสามารถคลิกไปที่รายการงานเพื่อดูรายละเอียดต่าง ๆ ของงาน โดยแบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้ 8.1: ระยะเวลาทำงานที่สามารถทำได้ 8.2: ชื่อร้านค้าและตำแหน่งที่ตั้ง สามารถกดปุ่ม “แนวทาง” เพื่อดูแผนที่ตำแหน่งของร้านค้าได้ (ตำแหน่งที่ปรากฏบนแผนที่อาจไม่ตรงตามตำแหน่งจริง) 8.3: ค่าตอบแทน 8.4: 1) สั่งพิมพ์ – Print แบบสอบถามพร้อมตัวเลือกคำตอบ 2) ความคิดเห็น – กดเพื่ออ่านความคิดเห็นจากผู้ประสานงาน ผู้ประสานงานอาจใส่ไว้เพื่อเน้นย้ำจุดสำคัญของงานนั้น ๆ 3) ขอความช่วยเหลือ/ติดต่อ – กดเพื่อส่ง Email ติดต่อสอบถามหรือแจ้งปัญหากับผู้ประสานงาน 8.5: 1) หลักเงื่อนไข – คลิกเพื่อเข้าไปกรอกแบบสอบถาม โดยจะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ดังนี้ 2) ดูรายงาน/ส่งรายงาน - ปุ่มนี้จะขึ้นมาให้คลิกหลังจาก คลิก “หลักเงื่อนไข” เพื่อให้คุณเข้าไปกรอกแบบสอบถาม
และนี่คือขั้นตอนรายละเอียดการเลือกงานทั้งหมดในหน้าจอแบบใหม่ค่ะ หากช้อปเปอร์ท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อผู้ประสานงานโปรเจคที่คุณทำอยู่ได้นะคะ ขอให้สนุกกับการตรวจค่ะ :) สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเป็นช้อปเปอร์ ให้ทำตาม 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. เข้าหน้าเว็บสมัคร 1.1 ให้ชี้มาส์ไปที่ “Work with us” บนแถบเมนูด้านบนของเว็บไซต์ แล้วคลิก “สมัครเป็นช้อปเปอร์” 1.2 เมื่อขึ้นหน้าใหม่ ให้คลิกที่ “คลิกเพื่อสมัคร" 1.3 ในหน้านี้ ให้เลือกภาษาที่ต้องการสมัครด้านล่าง แล้วคลิก “GO” 1.4 ในหน้านี้ ให้กรอกอีเมล์ในช่องว่างด้านล่าง แล้วคลิก “GO” 1.5 ในหน้าต่อมา ให้เลือกประเทศเป็น "Thailand" 2. กรอกข้อมูลบัญชีพื้นฐาน (ส่วนที่ 1) ในหน้านี้ ให้ท่านกรอกข้อมูลต่าง ๆ ลงไปให้ครบถ้วน เสร็จแล้วคลิกที่ “ลงทะเบียนให้ข้าพเจ้า” ในส่วนของรหัสผ่าน คุณต้องตั้งรหัสตามเกณฑ์ดังนี้
3. กรอกข้อมูล Extended Shopper Profile (ส่วนที่ 2) 3.1 เมื่อกรอกข้อมูลบัญชีพื้นฐานเรียบร้อยแล้ว ระบบจะพาเข้าสู่หน้ากรอกข้อมูล Extend Shopper Profile ให้กรอกข้อมูลและตอบคำถามแต่ละข้อให้ครบถ้วนตามความเป็นจริง เพื่อผลประโยชน์ของผู้สมัครเอง *หมายเหตุ ควรกดบันทึกข้อมูลที่กรอกไว้ภายใน 30 นาทีหลังเปิดหน้ากรอกข้อมูล เนื่องจากระบบจะทำการตัดการเชื่อมต่ออัตโนมัติหากใช้งานเกิน 30 นาที หากไม่กดบันทึก ข้อมูลที่กรอกไว้จะหายไป (การบันทึกข้อมูลไม่ใช่การส่งข้อมูล)
3.2 เสร็จแล้วกด "บันทึกการเปลี่ยนแปลง" เพื่อส่งข้อมูล 4. ยืนยันตัวตน 4.1 ระบบของเราจะส่งอีเมลยืนยันการสมัครให้ตามอีเมลที่คุณกรอกไว้ตอนสมัคร ให้เปิดอีเมลที่ได้รับ แล้วคลิกลิงก์ยืนยันตัวตน 4.2 หากยืนยันสำเร็จ จะปรากฏหน้าต่างตามภาพ จากนั้นคลิกที่ “Log In Now" 4.3 กรอกอีเมลและรหัสผ่าน แล้วกดปุ่ม “Go” เพื่อเข้าสู่ระบบ 5. รอเปิดใช้งานบัญชี 5.1 เมื่อเข้าสู่ระบบแล้ว จะเห็นว่าสถานะบัญชีของช้อปเปอร์จะขึ้นว่า บัญชีนี้ถูกปิดการใช้งาน เนื่องจากทางบริษัทต้องตรวจสอบข้อมูลของผู้สมัครก่อน และจะเปิดให้ใช้งานบัญชีช้อปเปอร์ทุกวันที่ 8 ของเดือนถัดไปจากเดือนที่สมัคร เมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วเราจะเปิดให้ใช้บัญชีในการสมัครงานได้ โดยจะขึ้นสถานะดังภาพ หากขึ้นสถานะบัญชีแบบนี้ แสดงว่ายังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบข้อมูล หากขึ้นสถานะบัญชีแบบนี้ แสดงว่าสามารถใช้งานบัญชีได้เลย เมื่อท่านสมัครแล้ว หากทางเราต้องการชอปเปอร์สำหรับงานต่างๆ ก็จะติดต่อท่านเป็นการส่วนตัว
และท่านสามารถรับข่าวสารงานใหม่ ๆ ได้จากทางอีเมลและ Facebook Page https://www.facebook.com/hsbrandsTH ของเรา สามารถศึกษาวิธีการใช้งานและขั้นตอนต่าง ๆ ที่จำเป็นกับการเป็นช้อปเปอร์ของเรา ผ่านบทความเหล่านี้ได้เลยค่ะ
หมายเหตุ การพิจารณาเปิดบัญชีผู้ใช้ของ HS Brands Global ถือเป็นที่สิ้นสุด บางคนเมื่อได้ทำความรู้จักกับคำว่า Mystery Shopper หรือ ลูกค้านิรนามแล้ว อาจจะเกิดคำถามขึ้นว่า คนที่เป็นช้อปเปอร์ต้องทำงานอย่างไร มีทักษะอะไรบ้าง แล้วเรามีความสามารถพอที่จะเป็นช้อปเปอร์ได้รึเปล่า จะยากเกินไปไหม วันนี้ทางผู้เขียนจะมาให้คำตอบค่ะ ที่จริงแล้ว Mystery Shopper นั้น ขอเพียงแค่คุณเคยมีประสบการณ์ซื้อสินค้าหรือบริการร้านใดร้านหนึ่งมาก่อนก็เพียงพอต่อการเป็นช้อปเปอร์แล้วค่ะ เพราะการตรวจสอบบริการนั้น ต้องใช้ผู้ที่เคยเป็นลูกค้าหรือเคยใช้บริการมาก่อนในการทำงาน ซึ่งในปัจจุบันคงไม่มีใครไม่เคยซื้อสินค้าหรือใช้บริการมาก่อนอยู่แล้ว นั่นเท่ากับว่า ไม่ว่าใครก็สามารถเป็น Mystery Shopper ได้นั่นเองค่ะ ในแง่ของทักษะการทำงานโดยทั่วไปของ Mystery Shopper ก็ไม่ได้ต้องการทักษะอะไรพิเศษมากกว่าตอนเป็นลูกค้าปกตินักค่ะ แค่ประสบการณ์ที่เคยซื้อสินค้าหรือบริการในร้านก็มากเพียงพอแล้ว แต่ถ้าอยากทำงานช้อปเปอร์ให้ได้อย่างมืออาชีพล่ะก็ ทักษะที่ควรจะมีก็คือ ความช่างสังเกตค่ะ เนื่องจากช้อปเปอร์ต้องสังเกตสิ่งต่าง ๆ ภายในร้านอย่างละเอียดตามที่ได้รับคำสั่งมา อาจมีบางจุดที่ต้องสังเกตเพิ่มนอกเหนือจากที่เคยมองตอนเป็นลูกค้าปกติค่ะ และในบางงานตรวจที่พิเศษหน่อย อาจจำเป็นต้องใช้ทักษะการสวมบทบาทหรือการแสดงด้วย เพื่อความแนบเนียนและตรงตามวัตถุประสงค์ในการเข้าตรวจงานนั้น ๆ และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือความซื่อตรงค่ะ เพราะการทำ Mystery Shopping นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเก็บข้อมูลตามความเป็นจริงและเก็บข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับค่ะ เช่น ข้อมูลที่กรอกในแบบสอบถามจะต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริง ไม่นำข้อมูลที่ได้ไปเผยแพร่ให้คนอื่นหรือบริษัทคู่แข่ง ต้องไม่เปิดเผยตัวเองว่าเป็นผู้ตรวจสอบหรือช้อปเปอร์เด็ดขาด เป็นต้น ถ้าหากเราทำได้ตามนี้ทั้งหมดจะทำให้เราดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นค่ะ ซึ่งส่งผลให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โอกาสได้รับงานตรวจมากขึ้น และค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นด้วยนั่นเองค่ะ
ทั้งหมดนี้คือความสามารถคร่าว ๆ ที่ผู้ที่เป็น Mystery Shopper ควรจะมีค่ะ จะเห็นว่า แค่เราซื้อของใช้บริการร้านค้าต่างเราก็มีทักษะเกินกว่าครึ่งแล้ว งานช้อปเปอร์นี้จึงไม่ใช่งานยากเกินกำลังอย่างที่คิดค่ะ หากสนใจใช้บริการของเรา ติดต่อได้ที่ บริษัท เอชเอส แบรนด์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด https://www.hsbrandsth.com/ E-mail : connect@hsbrandsth.com Tel. : 02-107-4143 |
AuthorHS Brands Global (Thailand) Team Categories
All
Archives
May 2023
|