วิธีกรอกแบบสอบถามออนไลน์ แบ่งได้ 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. เข้าสู่ระบบ 1.1 ให้ชี้มาส์ไปที่ “Work with us” บนแถบเมนูด้านบนของเว็บไซต์ แล้วคลิก “เข้าสู่ระบบช้อปเปอร์” 1.2 กรอกอีเมล์และรหัสผ่าน แล้วกดปุ่ม “Go” เพื่อเข้าสู่ระบบ 2. เลือกงานที่ต้องการ 2.1 ในหน้าหลักของระบบช้อปเปอร์ ให้คลิกที่แถบ “ร้านค้าของฉัน” เพื่อเปิดดูงานตรวจที่มีทั้งหมด 2.2 คลิกงานที่ต้องการกรอกข้อมูล แล้วคลิก “ดูรายงาน/ส่งรายงาน” เพื่อเข้าไปกรอกแบบสอบถาม 3. กรอกข้อมูล 3.1 กรอกข้อมูลในแบบสอบถามให้ครบถ้วน 3.2 เสร็จแล้วคลิก “Complete Visit & Submit” ตรงท้ายแบบสอบถาม เพื่อส่งข้อมูล 3.3 หากส่งข้อมูลเรียบร้อย จะขึ้นหน้าต่างดังภาพข้างล่าง เป็นอันเสร็จสิ้น เทคนิคเพิ่มเติม
1. ในกรณีที่ต้องอัพโหลดไฟล์รูปภาพหรือเสียง ให้คลิกที่ “Upload”
จากนั้นจะขึ้นหน้าต่างอัพโหลดไฟล์ คลิก “Add files” เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการในเครื่อง
เมื่อเลือกแล้วกด “Start upload” แล้วรอจนกว่าหน้าต่างอัพโหลดไฟล์จะหายไป
หากอัพโหลดสำเร็จ จะขึ้นภาพตัวอย่างไฟล์ดังภาพ
2. หากกดส่งข้อมูลแล้วขึ้นหน้าต่างดังภาพข้างล่าง หมายความว่ายังกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน ให้คลิก “ข้ามไปที่ OOPS ตัวแรก” เพื่อกลับไปกรอกข้อมูลให้ครบ
เมื่อกรอกข้อมูลในข้อนั้นแล้ว กด Next เพื่อข้ามไปยังข้อที่ยังไม่ได้กรอกข้อมูลถัดไป
เมื่อคุณสมัครเข้ามาเป็น Mystery Shopper (หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่าช้อปเปอร์) และได้ลองทำงานดูแล้ว คุณอาจจะอยากแชร์ประสบการณ์การทำงานนี้ให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวฟังบ้างว่า ลักษณะงานเป็นอย่างไร ทำแล้วได้อะไรบ้าง แต่ช้าก่อน! เพราะการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับช้อปเปอร์หรือ Mystery Shopping อย่างไม่ระวังนั้น อาจส่งผลไม่ดีตามมาได้ ปัญหาที่ว่าก็คือ การถูกเปิดเผยว่าเป็นช้อปเปอร์ในระหว่างการเข้าตรวจ สมมติว่าคุณกำลังเข้าตรวจร้านค้าร้านหนึ่งอยู่ แล้วอยู่ดี ๆ เพื่อนของคุณก็เข้ามาทักทายพูดคุย ซักพักเพื่อนของคุณดันนึกได้ว่า คุณเคยบอกว่าเป็นช้อปเปอร์ เลยพูดออกมาว่า “อ๋อ! เธอมาทำงานเป็นช้อปเปอร์ที่นี่สินะ” หากคนที่เคยทำงานเป็นช้อปเปอร์มาก่อนจะทราบดีว่า สิ่งสำคัญที่สุดของการตรวจร้านค้าในฐานะช้อปเปอร์คือ ต้องไม่เปิดเผยว่าตัวเองเป็นช้อปเปอร์เด็ดขาด ไม่เช่นนั้นงานตรวจจะถือโมฆะในทันที ทำให้นอกจากจะเสียค่าเดินทางหรือค่าใช้จ่ายไปเปล่า ๆ โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนแล้ว ยังอาจเสียโอกาสที่จะกลับมาตรวจร้านค้านั้น ๆ อีกครั้งในภายหลังด้วย เพราะพนักงานรู้แล้วว่าคุณเป็นช้อปเปอร์ แล้วเราควรจะทำอย่างไรดีล่ะ? แน่นอนว่า เรื่องราวเกี่ยวกับ Mystery Shopping หรือการทำงานในฐานะช้อปเปอร์ไม่ใช่ความลับที่ต้องปิดบังอะไรเลย (อันที่จริง เราอยากให้คุณพูดเรื่องนี้กับคนอื่นเยอะ ๆ ด้วยซ้ำไป!) แต่สิ่งที่คุณต้องทำก่อนที่จะบอกออกไปก็คือ ให้ดูว่าคน ๆ นั้นเป็นคนเก็บความลับเก่งไหม อธิบายให้เขาเข้าใจถึงความสำคัญของการปกปิดสถานะช้อปเปอร์ และควรพูดเรื่องนี้ในพื้นที่ส่วนตัว
อีกเรื่องที่เราอยากจะเตือนก็คือ ห้ามเปิดเผยข้อมูลการทำงาน และรายละเอียดการตรวจสอบการให้บริการนี้กับผู้อื่นในเชิงพาณิชย์ เช่น การบอกชื่อร้านค้าหรือข้อมูลการตรวจที่ได้ไปบอกให้กับคู่แข่ง เพราะถือเป็นการเปิดเผยความลับของบริษัท ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับทั้งร้านค้าและบริษัทที่ให้บริการ Mystery Shopping และผู้ที่เปิดเผยข้อมูลจะถูกดำเนินคดีอีกด้วย ดังนั้น คุณจึงควรมีความรอบคอบ ก่อนที่จะพูดเรื่อง Mystery Shopping หรือการเป็นช้อปเปอร์กับผู้อื่น บอกกับพวกเขาว่าข้อมูลใดที่เปิดเผยได้และไม่ได้ การปกปิดบทบาทช้อปเปอร์ระหว่างการเข้าตรวจสำคัญอย่างไร เพราะความรอบคอบ ก็เป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญของการเป็นช้อปเปอร์เช่นกัน วิธีการเลือกรับงานตรวจของเราสามารถรับได้ทางอีเมลที่คุณสมัครเข้ามาเท่านั้น แบ่งได้ 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. รอรับอีเมล ทุกต้นเดือนเราจะส่งอีเมลงานเข้าตรวจของเดือนนั้น ๆ ให้กับช้อปเปอร์ทุกคนไปเลือกรับงานตรวจที่ต้องการทำ ในกรณีที่คุณไม่ได้รับอีเมล ให้ลองเข้าไปดูที่กล่องรับเมลอื่น ๆ ให้ทั่วก่อน เช่น Trash, Spam หรือ Junk ดูก่อน เพราะอาจหลงไปอยู่ในช่องรับเมลอื่น ๆ ได้ 2. อ่านรายละเอียดและเลือกงาน เมื่อได้รับอีเมลแล้ว ให้คุณเข้าไปอ่านรายละเอียดของงาน เช่น บทบาทสมมติ กระบวนการตรวจ ระยะเวลาเปิดรับช้อปเปอร์ จังหวัดและสาขาที่มีงานตรวจ ค่าตอบแทน แล้วเลือกงานที่ต้องการทำ 3. ทำแบบทดสอบวัดความเข้าใจ เมื่อเลือกงานที่ต้องการได้แล้ว ให้เข้าไปทำแบบทดสอบวัดความเข้าใจ ภายในแบบทดสอบจะมีรายละเอียดของงานตรวจ ทั้งข้อกำหนด กระบวนการ สิ่งที่ต้องตรวจ หลักฐานที่ต้องเก็บส่ง ฯลฯ ทั้งหมดให้อ่านก่อน โดยต้องได้คะแนนมากกว่า 90% ถึงจะผ่าน สามารถทำได้สูงสุด 3 ครั้ง หากทำไม่ผ่านทั้งสามครั้งจะหมดสิทธิ์รับงานนั้นทันที ขั้นตอนการเข้าทำแบบทดสอบ
1) คลิกลิงก์แบบทดสอบในอีเมลของงานที่คุณต้องการทำ
2) จะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา คลิกที่ “Click here to take the test”
3) จะมีหน้าต่าง pop-up โผล่ขึ้นมา ให้คลิกที่ปุ่ม “Continue”
4) เมื่อเข้าสู่หน้าแบบทดสอบ ให้คุณอ่านข้อมูลรายละเอียดงานทั้งหมดแล้วทำแบบทดสอบให้ครบทุกข้อ
5) เมื่อทำเสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่ม "Finish" เพื่อส่งแบบทดสอบ
6) หากตอบคำถามครบจะเข้าสู่หน้าสรุปผลแบบทดสอบ
7) เมื่อทำแบบทดสอบผ่านแล้ว คุณจะได้รับอีเมลแจ้งผลการทดสอบยืนยันอีกครั้งหนึ่ง
4. เลือกสาขาหรือร้านที่ต้องการ กลับมาเปิดอีเมลงานที่คุณเลือกอีกครั้ง แล้วเลือกสถานที่ที่ต้องการไปตรวจ จากลิสต์ด้านล่างของอีเมล คลิกที่จังหวัดที่ต้องการไปตรวจ จากนั้นจะเข้าสู่หน้าเลือกสาขาของจังหวัดนั้น
เมื่อคลิกเลือกสาขาแล้ว จะพบข้อมูลชื่อและที่อยู่สาขา เงื่อนไขการทำงาน วันส่งแบบสอบถาม ค่าตอบแทน ให้คลิกที่ "Apply for this Shop" เพื่อยืนยันการเลือกงานตรวจ 5. รอการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ หลังจากยืนยันการเลือกงาน ให้เข้าระบบช้อปเปอร์แล้วคลิก “แอปของฉัน” เมื่อเข้ามาแล้วให้สังเกตกรอบด้านล่างของหน้าเพื่อตรวจสอบสถานะของงานที่คุณเลือก เมื่อผ่านอนุมัติแล้ว งานของคุณจะไปปรากฏที่หน้าหลักของระบบ แล้วเจ้าหน้าที่ของเราจะติดต่อหาคุณทาง LINE หรือเบอร์โทรศัพท์ที่คุณให้ไว้ตอนสมัคร เพื่อส่งเอกสารหรืออธิบายสรุปกระบวนการทำงานและรายละเอียดต่าง ๆ ก่อนเข้าตรวจจริง เป็นอันเสร็จสิ้น หมายเหตุ ช้อปเปอร์อาจได้รับงานไม่เท่าหรือไม่เหมือนกัน เนื่องจากเราจะคัดเลือกช้อปเปอร์ที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ ตามข้อมูลที่คุณกรอกเข้ามาตอนสมัคร เช่น หากคุณกรอกว่าไม่มีรถยนต์ส่วนบุคคล คุณจะไม่ได้รับงานที่ต้องใช้รถในระหว่างการตรวจ หรือถ้าคุณเป็นเพศชาย คุณจะไม่ได้รับงานที่จำกัดเฉพาะเพศหญิงเท่านั้น หลังจากที่ช้อปเปอร์เข้าสู่ระบบแล้ว จะพบกับหน้าต่างดังภาพ โดยจะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้ หมายเลข 1 : บันทึกร้าน – คือปุ่มเพื่อเข้าสู่หน้าหลักในการใช้งานระบบช้อปเปอร์ หรือก็คือปุ่ม Home นั่นเอง หมายเลข 2 : โปรไฟล์ของฉัน - คือหน้าสำหรับกรอกข้อมูลส่วนตัวของ Shopper (ควร Update เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนอีเมลใช้งาน เป็นต้น หมายเลข 3 : แอปของฉัน –รายละเอียดของร้านค้าที่คุณเลือกและสนใจไปทำทั้งหมด ณ ปัจจุบัน (แต่ยังไม่ได้รับการจ่ายงานหรือมอบหมายงาน) หมายเลข 4 : ตารางงาน (Job Board) – คือหน้าค้นหางานที่มีทั้งหมดที่คุณเลือกทำได้ สามารถค้นหาร้านได้ตามที่อยู่อาศัยหรือตำแหน่งที่อยู่ปัจจุบัน กำหนดระยะทางในการค้นหางาน หากมีงานที่ยังว่างอยู่จะปรากฏเป็นหมุดอยู่บนแผนที่ และมีรายละเอียดของงานนั้น ๆ บอกด้วย หมายเลข 5 : ขอความช่วยเหลือ – ไม่ต้องใช้งาน ในส่วนต่อไป หากไม่ปรากฏข้อมูลดังภาพตัวอย่างแรก ให้กดที่แถบหัวข้อสีเทาที่ต้องการเพื่อเรียกดูข้อมูลเพิ่มเติมของแถบหัวข้อนั้น ๆ เช่น คลิกลูกศรที่แถบประกาศเพื่อดูประกาศต่าง ๆ ที่มี เป็นต้น หมายเลข 6 : ประกาศ – ข้อความแจ้งถึงช้อปเปอร์ทุกคน หมายเลข 7 : ร้านค้าของฉัน – ในส่วนนี้มีรายละเอียดย่อยลงมา คือ 1) รหัสนักสำรวจ – หมายเลขรหัสของ Shopper ของคุณ 2) จำนวนร้าน # ทั้งหมด – จำนวนแบบสอบถามที่ Shopper เคยกรอกแบบสอบถาม 3) สถานะบัญชี –บอกว่าบัญชีของคุณยังสามารถใช้งานได้หรือไม่ สามารถคลิกไปที่ช่องเพื่อแสดงปุ่ม “เปลี่ยน” แล้วเข้าไปเปลี่ยนสถานะปัจจุบันของบัญชีคุณ โดยมี 3 สถานะที่สามารถเลือกได้ ดังนี้ 3.1) ใช้งาน - เลือกเพื่อใช้งานบัญชีตามปกติ 3.2) เลิกใช้บริการ – เลือกเพื่อเลิกใช้บริการ เมื่อเลือกแล้วจะไม่สามารถรับงานตรวจได้ แต่สามารถกลับมาเปิดใช้บริการบัญชีใหม่ได้ในภายหลัง 3.3) ไม่ต้องการรับอีเมล์เสนองาน - สามารถเลือกเพื่อปฏิเสธการรับข่าวสารงานตรวจร้านค้าใหม่ ๆ ได้ (ไม่แนะนำให้เลือกตัวเลือกนี้ หากยังต้องการรับงานตรวจร้านค้าอยู่) 4) Extended Shopper Profile – เป็นหน้ากรอกข้อมูลเพิ่มเติมของช้อปเปอร์ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่คุณกรอกในหน้านี้จะส่งผลกับงานที่คุณจะได้รับ คุณควรอ่านรายละเอียดในแต่ละข้อให้ละเอียดถี่ถ้วน ตอบตรงตามความเป็นจริงและถูกต้องครบถ้วน เพื่อผลประโยชน์ของตัวท่านเอง สามารถกดไปที่ช่องเพื่อเรียกปุ่ม “ปรับปรุง” และเข้าไปกรอกข้อมูลได้ หน้าตาของ Extended Shopper Profile เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จแล้ว หากขึ้นสถานะ “ปรับปรุงข้อมูลเป็นสิ่งที่ต้องการ ก่อนที่ท่านจะสามารถสมัครงาน” แสดงว่ายังกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน แต่ถ้าขึ้นสถานะ “ปัจจุบัน” แสดงว่ากรอกข้อมูลครบหมดแล้ว ตัวอย่างการแสดงสถานะในหน้าหลักของ Extended Shopper Profile 5) GeoVerifications – เป็นแอปพลิเคชั่นที่ใช้สำหรับช้อปเปอร์ในต่างประเทศ ไม่ต้องใช้งาน 6) MSPA Shopper Certifications – เป็นระบบรับรองการเป็น Shopper ในอเมริกา ไม่ต้องใช้งาน 7) การทดสอบและคุณสมบัติของผู้สมัคร - หากคุณสมบัติของคุณตรงตามคุณสมบัติที่โปรเจคงานของเราต้องการ จะมีแบบทดสอบวัดความเข้าใจให้คุณเข้าไปทำได้ในส่วนนี้ หากคุณทำแบบทดสอบผ่าน จะได้รับการติดต่อจากผู้ประสานงาน เพื่อคุยรายละเอียดเกี่ยวกับโปรเจคดังกล่าว (การได้รับมอบหมายงาน ต้องได้รับการ Confirm จากผู้ประสานงานเท่านั้น หากคุณไปตรวจสอบเอง ทางเราจะไม่รับผิดชอบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายดังกล่าว) 8) ข้อมูลอ้างถึงของนักสำรวจ – ไม่ต้องใช้งาน หมายเลข 8 : ร้านค้าของฉัน – ส่วนนี้จะรวบรวมรายการงานเข้าตรวจที่คุณได้รับมอบหมายให้เข้าตรวจ เมื่อคุณเข้าตรวจเสร็จแล้วจะต้องมาที่ส่วนนี้เพื่อกรอกแบบสอบถาม คุณสามารถคลิกไปที่รายการงานเพื่อดูรายละเอียดต่าง ๆ ของงาน โดยแบ่งเป็นส่วน ๆ ดังนี้ 8.1: ระยะเวลาทำงานที่สามารถทำได้ 8.2: ชื่อร้านค้าและตำแหน่งที่ตั้ง สามารถกดปุ่ม “แนวทาง” เพื่อดูแผนที่ตำแหน่งของร้านค้าได้ (ตำแหน่งที่ปรากฏบนแผนที่อาจไม่ตรงตามตำแหน่งจริง) 8.3: ค่าตอบแทน 8.4: 1) สั่งพิมพ์ – Print แบบสอบถามพร้อมตัวเลือกคำตอบ 2) ความคิดเห็น – กดเพื่ออ่านความคิดเห็นจากผู้ประสานงาน ผู้ประสานงานอาจใส่ไว้เพื่อเน้นย้ำจุดสำคัญของงานนั้น ๆ 3) ขอความช่วยเหลือ/ติดต่อ – กดเพื่อส่ง Email ติดต่อสอบถามหรือแจ้งปัญหากับผู้ประสานงาน 8.5: 1) หลักเงื่อนไข – คลิกเพื่อเข้าไปกรอกแบบสอบถาม โดยจะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ดังนี้ 2) ดูรายงาน/ส่งรายงาน - ปุ่มนี้จะขึ้นมาให้คลิกหลังจาก คลิก “หลักเงื่อนไข” เพื่อให้คุณเข้าไปกรอกแบบสอบถาม
และนี่คือขั้นตอนรายละเอียดการเลือกงานทั้งหมดในหน้าจอแบบใหม่ค่ะ หากช้อปเปอร์ท่านใดมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อผู้ประสานงานโปรเจคที่คุณทำอยู่ได้นะคะ ขอให้สนุกกับการตรวจค่ะ :) สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเป็นช้อปเปอร์ ให้ทำตาม 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. เข้าหน้าเว็บสมัคร 1.1 ให้ชี้มาส์ไปที่ “Work with us” บนแถบเมนูด้านบนของเว็บไซต์ แล้วคลิก “สมัครเป็นช้อปเปอร์” 1.2 เมื่อขึ้นหน้าใหม่ ให้คลิกที่ “คลิกเพื่อสมัคร" 1.3 ในหน้านี้ ให้เลือกภาษาที่ต้องการสมัครด้านล่าง แล้วคลิก “GO” 1.4 ในหน้านี้ ให้กรอกอีเมล์ในช่องว่างด้านล่าง แล้วคลิก “GO” 2. กรอกข้อมูล (ส่วนที่ 1) ในหน้านี้ ให้ท่านกรอกข้อมูลต่าง ๆ ลงไปให้ครบถ้วน เสร็จแล้วคลิกที่ “ลงทะเบียนให้ข้าพเจ้า” 3. ยืนยันตัวตน 3.1 ระบบของเราจะส่งอีเมล์ยืนยันการสมัครให้ตามอีเมล์ที่กรอกไว้ตอนสมัคร ให้เปิดอีลเมลที่ได้รับ แล้วคลิกลิงก์ยืนยันตัวตน 3.2 หากยืนยันสำเร็จ จะปรากฏหน้าต่างตามภาพ จากนั้นคลิกที่ “Log In Now" 3.3 กรอกอีเมล์และรหัสผ่าน แล้วกดปุ่ม “Go” เพื่อเข้าสู่ระบบ 4. กรอกข้อมูล (ส่วนที่ 2) 4.1 เมื่อเข้าได้แล้ว เท่ากับสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว แต่จะยังไม่สามารถรับงาน Shopper ได้ เนื่องจากต้องกรอกข้อมูลเพิ่มเติมก่อน คลิกที่ช่อง Extend Shopper Profile แล้วคลิกปุ่ม “ปรับปรุง” 4.2 กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนตามความเป็นจริง เพื่อผลประโยชน์ของผู้สมัครเอง *หมายเหตุ ควรกดบันทึกข้อมูลที่กรอกไว้ภายใน 30 นาทีหลังเปิดหน้ากรอกข้อมูล เนื่องจากระบบจะทำการตัดการเชื่อมต่ออัตโนมัติหากใช้งานเกิน 30 นาที หากไม่กดบันทึก ข้อมูลที่กรอกไว้จะหายไป (การบันทึกข้อมูลไม่ใช่การส่งข้อมูล)
4.3 เสร็จแล้วกด "บันทึกการเปลี่ยนแปลง" เพื่อส่งข้อมูล 5. รอเปิดใช้งานบัญชี เมื่อส่งข้อมูลแล้ว ทางเราจะตรวจสอบข้อมูลการสมัครของท่าน เมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วเราจะเปิดให้ใช้บัญชีในการสมัครงานได้ โดยจะขึ้นสถานะดังภาพ หากขึ้นสถานะบัญชีแบบนี้ แสดงว่ายังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบข้อมูล หากขึ้นสถานะบัญชีแบบนี้ แสดงว่าสามารถใช้งานบัญชีได้เลย โดยระยะเวลาตรวจสอบและเปิดใช้งานบัญชีอยู่ที่ประมาณ 30-45 วันนับจากวันที่สมัคร หากเกินระยะเวลาแล้วบัญชียังไม่เปิดใช้งาน โปรดส่งอีเมล์มาที่ info.th@hsbrandsasia.com เขียนหัวข้ออีเมล์ว่า "สอบถามสถานะการใช้งานของช้อปเปอร์"
เพียงเท่านี้ท่านก็ได้สมัครเป็นช้อปเปอร์กับเราเรียบร้อยแล้วค่ะ โดยท่านสามารถรับข่าวสารงานใหม่ ๆ ได้จากทางอีเมลและ Facebook Page https://www.facebook.com/hsbrandsTH ของเราค่ะ |
AuthorHS Brands Global (Thailand) Team Archives
July 2019
Categories
All
|